พระบรมราโชวาทด้านการศึกษา
วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
บทนำ
การศึกษา คือ การสร้างคนให้มีความรู้มีความพร้อมทีจะต่อสู้เพื่อตนเองและสังคม มีความพร้อมที่
จะประกอบการงานอาชีพได้ ช่วยให้คนเจริญงอกงาม ทั้งทางปัญญา จิตใจ ร่างกาย และสังคม การศึกษาจึงเป็นความจําเป็นของชีวิต เป็นปัจจัยที่จะช่วยแก้ปัญหาทุก ๆ ด้านของชีวิตและเป็นปัจจัยที่สําคัญที่สุดของชีวิตในโลกที่มีกระแสความเปลี่ยนแปลงทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบให้วิถีดํารงชีวิตต้องเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเหมือนกันการศึกษายิ่งมีบทบาทและความจําเป็นมากขึ้นด้วย ในปัจจุบันการศึกษาของเด็กและเยาวชนไทยนั้นนับว่ามีความสําคัญอย่างมากและยังล้าหลังกว่าประเทศอื่นๆ เด็กและเยาวชนไทยจําเป็นต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ จึงได้คิดค้นโครงงานเรื่อง พระบรมราโชวาทเกี่ยวกับด้านการศึกษา เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้ตระหนักถึงความสําคัญของกาศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งที่เด็กและเยาชนต้องได้เรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ ผู้จัดทํามีความสนใจในเรื่องพระบรมราโชวาทด้านการศึกษาจึงได้จัดทําโครงงานโดยใช้โปรแกรม บล็อกเกอร์ (Blogger) เพื่อเผยแพร่ข้อมูลและความสําคัญของการศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการดําเนินชีวิต โดยน้อมนําเอาพระบรมราโชวาทด้านการศึกษาเนื่องในโอกาสต่างๆของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมาเป็นสื่อในการเผยแพร่
วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2560
ความหมายของการศึกษา
การศึกษาหมายถึง การให้การเลี้ยงดูให้เจริญเติบโต ในขณะเดียวกันก็ต้องให้ความรู้แก่ผู้ที่ได้รับการเลี้ยงดูนั้นให้เป็นผู้ที่สามารถช่วยเหลือตนเองเพื่อความอยู่รอดของชีวิต เช่น ให้วิชาความรู้เพื่อการประกอบอาชีพ และให้ความรู้เพื่อสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข อีกความหมายหนึ่ง การศึกษาหมายถึงการพัฒนาผู้เรียนให้เจริญเติบโตสมบูรณ์เต็มที่ นั่นคือ เป็นการสอนหรือแนะนำให้ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ในตนเองให้มากที่สุดเท่าที่สามารถกระทำได้ และ การศึกษา หมายถึง การสอนหรือการฝึกอบรมให้ผู้เรียนมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างเต็มที่ตามความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน
อ้างอิง
https://www.l3nr.org/posts/386839
เขียนโดย: Phramaha ariyadhammo
วันที่สืบค้นข้อมูล: 5 มกราคม 2560
ความสำคัญของการศึกษา
เมื่อไม่เรียนแล้วใยเล่าเจ้าจะรู้ เมื่อไม่ดูแล้วใยเล่าเจ้าจะเห็น
เมื่อไม่ทำแล้วใยเล่าเจ้าจะเป็น ยามยากเข็ญแล้วใครเล่าจะช่วยเรา
การศึกษามีความสำคัญต่อมนุษย์เป็นอย่างมาก คำกล่าวที่ว่าการศึกษาคือชีวิต และชีวิตคือการศึกษา คำกล่าวเช่นนี้ยังคงเป็นความจริงอยู่ตลอดไป ชีวิตมนุษย์ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิในครรภ์มารดาเริ่มมีการศึกษาบ้างแล้ว การศึกษาของมนุษย์จะเริ่มอย่างจริงจังก็ต่อเมื่อชีวิตได้เริ่มลืมตาดูโลก และจะต้องศึกษาอยู่ตลอดไปจนกว่าชีวิตจะจากโลกนี้ไป การศึกษาจึงมีความสำคัญต่อบุคคล สังคม ประเทศชาติ และต่อโลกเป็นอย่างยิ่ง อาจจะกล่าวได้ว่า “ตราบใดที่โลกยังมีมนุษย์ไม่สิ้นสุดการศึกษาต้องอาศัย” เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะมนุษย์ที่อาศัยโลกอยู่จะต้องอาศัยกระบวนการทางการศึกษาสำหรับการพัฒนาตน เมื่อสมาชิกของสังคมได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพแล้ว สังคมและประเทศชาติรวมทั้งโลกด้วยก็จะได้รับการพัฒนาต่อไปด้วย
ในทางพระพุทธศาสนาถือว่าการศึกษาเป็นไปเพื่อพัฒนาคนให้เป็นผู้มีชีวิตที่ดีงาม สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้องและเกื้อกูลแก่สังคม การศึกษาคือการพัฒนามนุษย์ให้เจริญขึ้น มนุษย์ที่ยังไม่พัฒนาจะต้องอาศัยตัณหามานำชีวิตให้ดิ้นรน เพื่อสนองความต้องการทางด้าน ตา หู จมูก ลิ้น และกาย หรืออายตนะทั้งหลาย เพราะมนุษย์ยังมีอวิชชา ไม่รู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว อะไรเป็นประโยชน์ อะไรไม่ใช่ประโยชน์อย่างแท้จริง จึงยังต้องเอาความรู้สึกชอบไม่ชอบ เกลียด กลัว หรือปรารถนา มาเป็นเครื่องนำชีวิตก่อน เมื่อมองดูเห็นอะไรสนองความรู้สึกที่ดีที่สบายให้ความสุขทาง หู ตา จมูก ลิ้น กาย ก็พอใจ ต้องการได้สิ่งเหล่านี้ มนุษย์ที่ยังไม่พัฒนาจึงอยู่ด้วยตัณหา แต่เมื่อมนุษย์มีปัญญาพอแล้วก็จะอยู่ด้วยสติปัญญา ดังเช่น การเปลี่ยนพฤติกรรมและวิถีชีวิตจากการกินอยู่เพียงเพื่ออร่อยลิ้นและโก้หรู มาสู่การกินพอดีด้วยปัญญา หรือเสริมคุณภาพชีวิตให้มีสุขภาพและสามารถดำเนินชีวิตที่ดีงามอย่างผาสุกอันเรียกว่าโภชเนมัตตัญญุตา
การที่มนุษย์อยู่ดีด้วยปัญญา เป็นเครื่องพิสูจน์ความสำเร็จของการศึกษา เพราะการศึกษาคือการพัฒนามนุษย์ให้มีชีวิตที่เป็นอยู่ด้วยปัญญา ไม่ต้องอาศัยตัณหามาชักจูง การศึกษาในพระพุทธศาสนาจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ ๓ ประการ ในชีวิตนี้อย่างแท้จริง คือ ประโยชน์ในปัจจุบันที่ประกอบไปด้วยกามสุข ประโยชน์ในภพหน้าที่สูงขึ้นไปคือสูงกว่าประโยชน์ในภพนี้ และประโยชน์อย่างยิ่งคือพระนิพพาน พระพุทธศาสนากับการศึกษาเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน เพราะพระพุทธศาสนามีระบบการศึกษาที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง คือ การศึกษาในภาคทฤษฎีที่เรียกว่าปริยัติ และการศึกษาในภาคปฏิบัติจนเกิดผลที่เรียกว่าปฏิเวธ คำว่า ศึกษา ตรงกับคำว่า “สิกขา” ในทางพระพุทธศาสนา โดยการศึกษาในทางพระพุทธศาสนาเป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาชีวิตของผู้ศึกษาเอง เริ่มจากการเป็นปุถุชนที่ยังหมกมุ่นยึดติดในกามกิเลส พัฒนาไปสู่ความเป็นกัลยาณชน ที่เริ่มเห็นความสัจจริงของกุศลธรรมและเข้าถึงพระรัตนตรัย ต่อจากนั้นก็พัฒนาคุณสมบัติจนสามารถลดทิฏฐิว่าเป็นตัวกูของกูได้สิ้น ปลอดพ้นจากการร้อยรัดของกิเลส ซึ่งเป็นคุณสมบัติของอริยชน ตราบจนได้ฝึกฝนหลุดพ้นจากวัฎฎะที่เวียนว่ายตายเกิด เข้าถึงพระนิพพาน ซึ่งเรียกว่าเป็นพระอรหันต์ อีกทั้งการหลุดพ้นจากอวิชชาได้เป็นพระโพธิสัตว์สั่งสอนประชาชนสืบไป”
อ้างอิง
https://www.l3nr.org/posts/386839
เขียนโดย: Phramaha airyadhammo
วันที่สืบค้นข้อมูล: 5 มกราคม 2560
พระบรมราโชวาทด้านการศึกษา
...การศึกษาเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญยิ่งของมนุษย์คนเราเมื่อเกิดมาก็ได้รับการสั่งสอนจากบิดา มารดาอันเป็นความรู้เบื้องต้น เมื่อเจริญเติบใหญ่ขึ้นก็เป็นหน้าที่ของครูและอาจารย์สั่งสอนให้ได้รับวความรู้สูง และอบรมจิตใจให้พร้อมด้วยคุณธรรม เพื่อจะได้เป็นพลเมืองที่ดีของชาติสืบไป
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต
วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร
13 ธันวาคม 2505
...งานด้านการศึกษาเป็นงานสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของชาตินั้น ขึ้นอยู่กับการศึกษาของพลเมืองเป็นข้อใหญ่ ตามข้อเท็จจริงที่ทราบกันดีแล้ว ระยะนี้บ้านเมืองของเรามีพลเมืองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งมีสัญญาณบางอย่างเกิดขึ้นด้วยว่า พลเมืองของเราบางส่วนเสื่อมทรามลงไปในความประพฤติและจิตใจ ซึ่งเป็นอาการที่น่าวิตก ว่า ถ้าหากยังคงเป็นอยู่ต่อไป เราอาจเอาตัวไม่รอด ปรากฏการณ์เช่นนี้ นอกจากเหตุอื่นแล้ว ต้องมีเหตุมาจากการศึกษาด้วยอย่างแน่นอน จึงพูดได้เต็มปากแล้วว่า เราจะต้องจัดงานด้านการศึกษาให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น...
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต
วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร
12 ธันวาคม 2512
...การให้การศึกษาอีกขั้นหนึ่ง คือ การสอนและการฝึกฝนให้เรียนรู้วิทยาการที่ก้าวหน้าขึ้นไป พร้อมทั้งการฝึกฝนให้รู้จักใช้เหตุผล สติปัญญา และหาหลักการชีวิต เพื่อให้สามารถสร้างสรรค์ความเจริญงอกงาม ทั้งทางกายและทางความคิด ผู้ทำงานด้านการศึกษาจึงมีความสำคัญเป็นพิเศษ และได้รับความยกย่องเป็นอย่างสูงตลอดมา ในฐานะที่เป็นผู้ให้ชีวิตจิตใจตลอดจนเจริญทุกอย่างแก่อนุชน...
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต
วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร
29 พฤศจิกายน 2514
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต
วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร
27 พฤศจิกายน 2515
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต
วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร
28 พฤศจิกายน 2515
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต
วิทยาลัยวิชาการศึกษา พิษณุโลก
21 พฤศจิกายน 2516
...การให้การศึกษาถือว่าเป็นการให้สิ่งสำคัญที่สุด เพราะเป็นการหล่อหลอมวางรูปแบบให้แก่อนุชน ทั้งทางความรู้ความสามารถ ทั้งทางจิตวิญญาณ ผู้มีหน้าที่ให้การศึกษาทุกตำแหน่งหน้าที่ จึงมีความรับผิดชอบอย่างยิ่งต่อชาติบ้านเมือง ในการสร้างพลเมืองที่ดี...
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
20 มิถุนายน 2520
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
22 มิถุนายน 2523
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
25 มิถุนายน 2523
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
26 มิถุนายน 2523
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
27 มิถุนายน 2523
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
28 มิถุนายน 2523
พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่คณะครูและนักเรียน
ที่ได้รับพระราชทานรางวัล 2524
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
22 มิถุนายน 2524
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
25 มิถุนายน 2524
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
21 กรกฎาคม 2525
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต
วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร
29 ธันวาคม 2502
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต
วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร
15 ธันวาคม 2503
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต
วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร
13 ธันวาคม 2505
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต
วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร
2 ธันวาคม 2507
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต
วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร
2 ธันวาคม 2508
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต
วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร
15 ธันวาคม 2509
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต
วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร
19 ธันวาคม 2511
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต
วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร
19 ธันวาคม 2512
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต
วิทยาลัยวิชาการศึกษา พิษณุโลก
30 พฤศจิกายน 2515
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต
วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร
13 พฤศจิกายน 2516
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต
วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร
14 พฤศจิกายน 2516
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต
วิทยาลัยวิชาการศึกษา มหาสารคาม
26 พฤศจิกายน 2516
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต
วิทยาลัยวิชาการศึกษา มหาสารคาม
27 พฤศจิกายน 2517
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต
วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร
30 มิถุนายน 2519
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
23 มิถุนายน 2520
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
25 มิถุนายน 2521
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
19 มิถุนายน 2522
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
21 มิถุนายน 2522
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
13 กันยายน 2522
อ้างอิง:
http://www.fleet.navy.mi.th/ftc/hk9-4-1.php
วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2560
ประวัติผู้จัดทำ
ชื่อ นางสาว ชุติมา นามสกุล จันทะศักดิ์ ชื่อเล่น แพรว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อ นางสาว วรรณทสา นามสกุล ขืนเขียว ชื่อเล่น นุ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)